th en
 
 

Symposium on TQM Best-Practices



การประชุม The 11th Symposium on TQM Best-Practices in Thailand

 

The 11th Symposium on TQM Best-Practices in Thailand

      การประชุม Symposium on TQM-Best Practices in Thailand จัดขึ้นโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนมุมมองและ ประสบการณ์ของผู้ประยุกต์ใช้ TQM ในประเทศไทย แล้วเกิดผลสำเร็จ เพื่อแสวงหาแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดนำมา ขยายผลให้เป็นที่รับรู้และ เรียนรู้กันอย่างกว้างขวาง โดยจัดขึ้นครั้งแรกในเดือนมีนาคม 2543 และจัดต่อเนื่องมาทุกปีเป็นเวลา 10 ปี

 

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อให้ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติในองค์กรที่ได้นำระบบบริหารทีคิวเอ็มมาประยุกต์ใช้ในประเทศไทย ได้นำเสนอและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ซึ่งกันและกันเกี่ยวกับ แนวคิด เทคนิค วิธีการ ประสบการณ์ อุปสรรค ปัญหา ตลอดจนแนวทาง วิธีการแก้ไขในการนำทีคิวเอ็มมาประยุกต์ใช้เพื่อแสวงหา "แนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด (The Best Practices)" ในแต่ละสาขาของ การบริหาร
  2. เพื่อสร้างความเป็นปึกแผ่นและความมีประสิทธิผลในการส่งเสริมทีคิวเอ็มให้แพร่หลาย อย่างรวดเร็วในประเทศไทยและก่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างหน่วยงานของรัฐ สมาคม สถาบัน และบริษัท ที่ปรึกษา ฯลฯ ที่ทำหน้าที่ในการส่งเสริมทีคิวเอ็มอยู่ในประเทศไทย
  3. เพื่อก่อให้เกิดการสะสมและถ่ายทอดประสบการณ์ของผู้ที่ประสบความสำเร็จในการนำทีคิวเอ็มมาประยุกต์ใช้ให้เป็นที่รับรู้และเรียนรู้กันอย่างกว้างขวางทั้งในแวดวงธุรกิจ และวิชาการ ด้านอุตสาหกรรมการผลิต การบริการ การศึกษา และการบริหารของภาคเอกชน และภาครัฐบาล

 

รูปแบบการประชุม

การประชุมแบ่งออกเป็น  2 ส่วน

ส่วนที่ 1 การประชุมทางวิชาการ แบ่งเป็น 7 สาขา

  1. การนำองค์กร: การกำหนดทิศทางและความคาดหวัง การจัดองค์กรนำกระบวนการนำวิธีการ พัฒนาผู้นำที่มีคุณภาพ การสร้างค่านิยม คุณภาพในองค์กร องค์กรแห่งการเรียนรู้ ความรับผิดชอบต่อชุมชนและสาธารณะ ฯลฯ
  2. การวางแผนเชิงกลยุทธ์ (Hoshin Kanri) และการจัดการนโยบาย (การบริหารเข็มมุ่ง): กระบวนการวางแผนเชิงกลยุทธ์กระบวนการนำแผนเชิงกลยุทธ์ ไปสู่การปฏิบัติกระบวนการจัดการทิศทางและเป้าหมายหลักประจำปี การตรวจวินิจฉัยโดยผู้บริหารระดับสูง ฯลฯ
  3. การเอาใจใส่ลูกค้าและตลาด: ความรู้เกี่ยวกับความต้องการและความคาดหวังของลูกค้าและตลาดเทคนิคและวิธีการหาความต้องการ และการประเมิน ความพึงพอใจของลูกค้า การเปรียบเทียบความสามารถในการแข่งขัน การจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้า การรักษาลูกค้า ฯลฯ
  4. การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้: การจัดการสารสนเทศ การใช้เทคนิคทางสถิติ การใช้เครื่องมือคุณภาพ การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี ฯลฯ
  5. การเอาใจใส่ทรัพยากรบุคคล: การออกแบบระบบงานที่มีคุณภาพสูง เทคนิคและระบบการจูงใจ พนักงาน การส่งเสริมกิจกรรมการมีส่วนร่วมปรับปรุงคุณภาพ  (5ส QCC KYT ฯลฯ) ระบบการฝึกอบรม และพัฒนาบุคลากร  การยกระดับคุณภาพชีวิตของพนักงานการประเมินผลการปฏิบัติงาน ฯลฯ
  6. การจัดการกระบวนการ: กระบวนการสร้างคุณค่า กระบวนการหลัก กระบวนการสนับสนุน การจัดการ สมรรถนะของผู้ส่งมอบ การจัดการระบบมาตรฐาน เทคนิคการจัดทำเอกสารคู่มือปฏิบัติงาน การจัดการ การปฏิบัติงานประจำวัน การปรับปรุง อย่างต่อเนื่อง เทคนิคการแก้ปัญหา และป้องกันมิให้เกิดซ้ำ Reengineering, Benchmarking, SPC, SQC, QFD, FMEA, DOE, etc.
  7. การประยุกต์ระบบมาตรฐานต่าง ๆ เข้ากับการบริหารจัดการ: บทเรียนจากการประยุกต์มาตรฐานระบบ ISO 9000, ISO 14000, มอก. 18000, SA 8000  ฯลฯ ตัวอย่างเช่น การประยุกต์ รวมหลายระบบเข้าเป็นหนึ่งเดียว การใช้เป็นเครื่องมือในการปรับปรุงการบริหารจัดการ

ส่วนที่ 2  การจัดนิทรรศการโดยองค์กรต่าง ๆ

กำหนดวันประชุม : 21-23 กันยายน 2553
สถานที่ : โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค

การนำเสนอ :   
นำเสนอ 30 นาที 
สรุปข้อคิดเห็นโดยผู้เชี่ยวชาญ 10 นาที 
ตอบคำถาม  5  นาที

 

คณะกรรมการจัดการประชุม

ที่ปรึกษาและกรรมการจัดการประชุม

  1. นายพานิช เหล่าศิริรัตน์      ที่ปรึกษา สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ
  2. นายประยูร เชี่ยววัฒนา       ที่ปรึกษา สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
  3. นายวิเชียร จึงวิโรจน์       ที่ปรึกษา บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน)
  4. นายอานนท์   ปวีณวัฒน์       ที่ปรึกษา บริษัท ซียูอีแอล จำกัด
  5. นายสนิท เอกแสงกุล       ที่ปรึกษา บริษัท อีซึ่น เพ้นท์ จำกัด (มหาชน)
  6. นายดำรงค์  ทวีแสงสกุลไทย       ที่ปรึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  7. นางศุภวรรณ  เขียวขจี       ที่ปรึกษา บริษัท ไพรม์เอเซีย จำกัด
  8. นายพัฒนชัย  กุลสิริสวัสดิ์       ประธานกรรมการ บริษัท ชัยบูรณ์ บราเดอร์ส  จำกัด
  9. นางลดาวัลย์   กระแสร์ชล       รองประธาน สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
  10. นายปริทรรศน์   พันธุบรรยงก์       รองประธาน สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
  11. นายวีรพจน์   ลือประสิทธิ์สกุล       กรรมการ บริษัท ทีคิวเอ็ม เบสท์ จำกัด
  12. นางประไพพรรณ  อ่อนสมา       กรรมการ ธนาคารกรุงเทพ
  13. นายสมชาย   นิราพาธพงศ์พร       กรรมการ บริษัท  สยามคาสท์ไออ้อนเวอร์คส์ จำกัด
  14. นางณัฐกาญจน์  สุวรรณปฏิกรณ์       กรรมการ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
  15. นายพงษ์ศักดิ์   เพียรพานิชย์       กรรมการ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.)
  16. นายสามารถ   หงษ์วิไล       กรรมการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์
  17. นายชูชาติ วิรเศรณี       กรรมการ ที่ปรึกษาอิสระ
  18. นายกิตติ  สุขุตมตันติ       กรรมการ บริษัท ไดเร็คชั่นแพลน จำกัด
  19. นางพูลพร  แสงบางปลา       กรรมการ สมาคมมาตรฐานและคุณภาพแห่งประเทศไทย
  20. นางจุรีรัตน์  สุวรรณวิทยา       กรรมการ สถาบันยานยนต์
  21. นายกิตติ  วิสุทธิรัตนกุล       กรรมการ บริษัท เทคโนโลยีมีเดีย จำกัด
  22. นายผณิศวร ชำนาญเวช       กรรมการ สมาคมมาตรฐานและคุณภาพแห่งประเทศไทย
  23. นางสาวปรานี   พรรณวิเชียร       ที่ปรึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี  
  24. นางพิไลพรรณ นวานุช       กรรมการ TAL Apparel Limited
  25. นางสาวกาญจนา   ปฏิบัติ       กรรมการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
  26. นางสาวน้ำทิพย์  เจริญอนงค์       กรรมการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
  27. นางนัชชา เทียมพิทักษ์       กรรมการ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน)
  28. นายจำลักษณ์ ขุนพลแก้ว       กรรมการ สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ
  29. นางทิพวรรณ วัฒนวิทย์       กรรมการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
  30. นางสาวรัตนทิพย์ รัตนชัย       กรรมการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  31. นายชัชชาลี รักษ์ตานนท์ชัย       กรรมการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
  32. นายวิวัฒน์  ตัณฑะพานิชกุล        กรรมการ สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี(ไทย-ญี่ปุ่น)
  33. ดร.ศจี ศิริไกร       กรรมการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  34. นายเจริญชัย ฉิมเนียม       เลขานุการ 

 

กำหนดการจัดการประชุม

กำหนดการจัดการประชุม
The 11 th Symposium on TQM-Best Practices in Thailand

Pre-Conference Session : Social Corporate Management :
21 กันยายน 2553

08.00-09.00 ลงทะเบียน
09.00-09.10 พิธีเปิด โดย ดร.ปริทรรศน์ พันธุบรรยงก์ ประธานมูลนิธิส่งเสริมทีคิวเอ็มในประเทศไทย
09.10-10.40 สัมมนาหัวข้อ บรรษัทภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคมในยุคโลกภิวัฒน์ 
โดย คุณชาญกิจ เจียรพันธุ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ผลิตไฟฟ้าขนอม จำกัด
10.40-11.00 พักรับประทานอาหารว่าง
11.00-12.30 สัมมนาหัวข้อ เศรษฐกิจพอเพียงกับการบริหารคุณภาพของธุรกิจไทย 
โดย ดร. วัชรมงคล เบญจธนะฉัตร์ ประธานกรรมการ บริษัท บาธรูมดีไซน์ จำกัด
12.30-13.30 พักรับประทานอาหารเที่ยง
13.30-14.30 สัมมนาหัวข้อ การผลิตไก่แปรรูป CP ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
โดย คุณนพดล ศิริจงดี รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน)
14.30-15.00 พักรับประทานอาหารว่าง
15.00-16.30 สัมมนาหัวข้อ Carbon Credit : พลังงานสีเขียวกับโอกาสในการลงทุน
โดย คุณชัยวัฒน์ มั่นเจริญ รองผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)
   

Conference Session Day 1 : TQM Best Practices Presentation : 
22 กันยายน 2553

08.00-09.00 ลงทะเบียนรับเอกสาร
09.00-09.30 กล่าวต้อนรับ โดย นายพัฒนชัย กุลสิริสวัสดิ์ ประธานคณะกรรมการจัดการประชุม
09.30-10.15 นำเสนอบทความที่ 1 เรื่อง ผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง โดย บริษัท แพนเอเซียอุตสาหกรรม จำกัด
10.15-10.45 พักรับประทานอาหารว่าง
10.45-11.30 นำเสนอบทความที่ 2 เรื่อง การนำระบบบริหารจัดการองค์ความรู้ไปใช้ในกระบวนการพิจารณาเลื่อนตำแหน่งบุคลากร สวทช.
โดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
11.30-12.15 นำเสนอบทความที่ 3 เรื่อง การพัฒนาระบบการจัดการด้านความเสี่ยง โดย บริษัท ศิครินทร์ จำกัด (มหาชน)
12.15-13.30 พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.30-14.15 คุยเฟื่องเรื่อง TQM กับ ดร.วีรพจน์ โดย ดร.วีรพจน์ ลือประสิทธิสกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทีคิวเอ็ม เบสท์ จำกัด
14.15-14.45 พักรับประทานอาหารว่าง
14.45-15.30 นำเสนอบทความที่ 4 เรื่อง การดูแลและจัดการแบบเครือข่ายเพื่อลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศรีษะ
โดย โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช
15.30-16.15 นำเสนอบทความที่ 5 เรื่อง การพัฒนากระบวนการดูแลสุขภาพผู้ป่วยที่บ้าน (Home Health Care) โดย โรงพยาบาลอัมพวา
16.15-16.30 ถาม-ตอบ

Conference Session Day 2 : TQM Best Practices Presentation : 
23 กันยายน 2553

08.00-09.00 ลงทะเบียนรับเอกสาร
09.00-09.15 กล่าวต้อนรับ โดย นายพัฒนชัย กุลสิริสวัสดิ์ ประธานคณะกรรมการจัดการประชุม
09.15-10.00 นำเสนอบทความที่ 6 เรื่อง การส่งเสริมกิจกรรมการพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการ “การจัดการระบบน้ำ”
โดย บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด
10.00-10.30 พักรับประทานอาหารว่าง
10.30-11.15 นำเสนอบทความที่ 7 เรื่อง การส่งเสริมกิจกรรมการพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการ “การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม” 
โดย บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด โรงงานบ้านโพธ์
11.15-12.00 นำเสนอบทความที่ 8 เรื่อง การประยุกต์ใช้หลักการทางสถิติชั้นสูง เพื่อเพิ่มเปอร์เซ็นต์ Admixture ใน mixed comment 
โดย บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย (ทุ่งสง) จำกัด
12.00-13.15 พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.15-14.00 นำเสนอบทความที่ 9 เรื่อง การลดความผันแปรของน้ำหนักในการบรรจุเม็ดพลาสติก โดย บริษัท ไทยโพลิเอททิลีน จำกัด
14.00-14.30 พักรับประทานอาหารว่าง
14.30-16.00 TQM Clinic โดยดร.ลดาวัลย์ กระแสร์ชล ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 
คุณพัฒนชัย กุลสิริสวัสดิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ชัยบูรณ์ บราเดอร์ส จำกัด
คุณสมชาย นิราพาธพงษ์พร กรรมการผู้จัดการ บริษัท สยามคาสท์ไออ้อนเวอร์คส์ จำกัด
16.00-16.30 ประกาศรางวัล Popular Vote Award และรางวัลศาสตราจารย์ สุรศักดิ์ นานานุกูล (Best of the Best Award)
16.30 ปิดการประชุม โดย นายพัฒนชัย กุลสิริสวัสดิ์ ประธานคณะกรรมการจัดการประชุม
หมายเหตุ กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม

ลงทะเบียนร่วมงานผ่านทางอินเตอร์เน็ต

 

วิธีการลงทะเบียน

ลงทะเบียนผ่านทางระบบอินเตอร์เน็ต โดยมีขั้นตอนดังนี้

1. สมัครเป็นสมาชิกการใช้เว็บมูลนิธิฯ เพื่อกำหนด username และ password (ไม่เสียค่าใช้จ่าย) 
สมัครสมาชิก clickที่นี่

2. นำ username และ password ทำการ login ระบบสมาชิก เพื่อลงทะเบียน online หรือแก้ไข ยกเลิก เปลี่ยนแปลง ข้อมูลต่างๆ

3. ผู้ที่เคยเป็นสมาชิกแล้วสามารถ login ลงทะเบียนได้ทันที เข้า login )

4. ระบบจะตอบรับการลงทะเบียนอัตโนมัติผ่านทาง e-mail ของท่าน

5. การสมัครเป็นสมาชิกการใช้งานเว็บไซต์ของมูลนิธิ จะเป็นประโยชน์ต่อตัวท่านในการรับทราบข่าวสาร กิจกรรมต่างๆ (การสมัครเข้าร่วมงานต้องสมัครเป็นสมาชิกก่อน)

ลงทะเบียนผ่านทางโทรสาร ที่หมายเลข 02-734-6200

 

Download เอกสารประกอบต่างๆ

TQM Full Paper 

เอกสารประกอบการสัมมนา  เอกสารแนะนำการสมัครบทความ (ใบสมัครบทคัดย่อ) Download เอกสารแนะนำการจัดประชุม

ภาพบรรยากาศการจัดงาน

album01 ชมภาพบรรยากาศ