th en

หนังสือและสื่อวิชาการ

JSA Handbook

คู่มือเล่มที่ 1 ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร CHIEF EXECUTIVE OFFICER
ฝ่ายบริหารจัดเตรียมนโยบายธุรกิจระยะยาว และแผนประจำปี และแสดงเจตคติและนโยบายที่ชัดเจนเกี่ยวกับคุณภาพของผลิตภัณฑ์ซึ่งกำหนดโดยลูกค้า อีกทั้งยังมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่นโยบายต้องประกาศอย่างชัดเจนแก่ผู้จัดการ รวมถึงพนักงานทั้งหมด และสมาชิกอื่น โดยที่สภาพแวดล้อมทางธุรกิจเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และในแง่มุมของการแข่งขันถูกกำหนดให้เป็นระดับโลก ฝ่ายบริหารจึงต้องปรับปรุงคุณภาพการตลาด และเข้าใจความต้องการของลูกค้าพอ ๆ กับการทำให้ลูกค้าพึงพอใจ

คู่มือเล่มที่ 2 ผู้จัดการ MANAGER
ผู้จัดการควรเตรียมเป้าหมาย และจัดทำแผนของฝ่ายตนเองตามนโยบายธุรกิจ ระยะยาว และจัดทำแผนประจำปี และดำเนินการให้บรรลุผล ผู้จัดการคือผู้รับผิดชอบเต็มต่อการดำเนินการ TQM ให้บรรลุผล ผู้จัดการต้องกำหนดหน้าที่ให้ผู้ใต้บังคับบัญชารายงานความคืบหน้าของงาน และผลของงาน แต่ต้องแสดงถึงความรับผิดชอบในการบริหารโดยให้แนวทาง ผู้จัดการสร้างหลักประกัน ในการค้นหาสาเหตุที่ชัดเจน และปฏิบัติการป้องกันการเกิดซ้ำ ของสิ่งที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด อีกทั้งมีความสำคัญอย่างยิ่ง ที่ผู้จัดการต้องทำให้ที่ทำงาน เป็นที่ยอมรับ และมีคล่องตัว โดยการยกระดับทรัพยากรมนุษย์ โดยการให้คำแนะนำแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา

คู่มือเล่มที่ 3 พนักงานทั่วไป COMMOM EMPLOYEE
เพื่อให้ธุรกิจสามารถขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง การปรับปรุงคุณภาพของพนักงานจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อนำมาสู่การมีสถานที่ทำงานที่คล่องตัว เพื่อแข่งขันในการพัฒนาตนเอง และเพื่อดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจ รวมถึงกิจกรรมกลุ่มคุณภาพโดยพนักงานทุกคน ผู้จัดการควรริเริ่มในการสรรค์สร้างองค์กรที่มีชีวิตชีวา และสถานที่ทำงานที่ชื่นบาน หลักการที่สำคัญอีกอันหนึ่งก็คือ ผู้จัดการต้องพยายามยกระดับพนักงาน เพื่อปรับปรุงคุณภาพและความรับผิดชอบของพวกเขา

คู่มือเล่มที่ 4 การบริหารตามนโยบาย POLICY MANAGEMENT
งานที่สำคัญที่สุดของบริษัทคือการแจ้งนโยบาย และทิศทางในอนาคตบนฐานของยุทธศาสตร์แก่พนักงานทุกคน เพื่อให้มีการสร้างกลุ่มที่มีชีวิตชีวา แผนการบริหารทั้งระยะยาวและระยะกลางก่อรูปจากนโยบายที่ประกาศโดยผู้บริหารสูงสุด จากแผนการบริหาร แต่ละฝ่ายในบริษัทจัดร่างแผนระยะยาวแลระยะกลางของตนเองขึ้น จัดทำรายละเอียดของแผนประจำปีตามมา กำหนดตัวเลขเป้าหมาย แล้วดำเนินการให้ได้ตามนั้น

คู่มือเล่มที่ 5 การมาตรฐาน STANDARDIZATION
การจัดทำมาตรฐานภายในบริษัท เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่ทำให้พนักงาน สามารถปฏิบัติการได้อย่างมีประสิทธิผลและมีข้อผิดพลาดน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งมันเป็นเครื่องมือที่ขาดไม่ได้สำหรับการบริหารงานประจำวัน มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำให้พนักงานทุกคนเข้าใจถึงการจัดทำมาตรฐาน โดยจัดตั้งระบบสำหรับการจัดทำมาตรฐาน การเตรียมคู่มือสำหรับการทำมาตรฐาน และยกระดับการตระหนักถึงความสำคัญ ในการจัดทำมาตรฐานในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์จนถึงการให้บริการ และการดำเนินการกับสภาวะที่เกิดข้อบกพร่อง

คู่มือเล่มที่ 6 การบริหารงานประจำวัน DAILY MANAGEMENT
เพื่อคงไว้หรือปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ จึงมีความจำเป็นในการมอบหมายพนักงาน ให้รับผิดชอบในแต่ละสถานที่ทำงาน และแต่ละกระบวนการทำงาน และทำให้พวกเขาสามารถปฏิบัติการให้ได้ตามมาตรฐานอย่างเพียงพอ ผู้จัดการดำเนินการที่อยู่ในความรับผิดชอบ ไม่ให้เกิดข้อผิดพลาด มอบหมายความรับผิดชอบและอำนาจหน้าที่ สั่งงานและให้คำแนะแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา พนักงานดำเนินงานด้วยความเชื่อถือได้โดยปฏิบัติตามใบสั่งงาน และคู่มือการทำงานที่ได้รับมอบหมายในแต่ละวัน ควบคุมปฏิบัติการในแต่ละกระบวนการ เก็บรักษาบันทึก จัดทำรายงานที่ถูกต้อง พนักงานควรปรับปรุงความชำนาญของตนเองด้วยการศึกษาและฝึกอบรม

คู่มือเล่มที่ 7 กลุ่มควบคุมคุณภาพ QC CIRCLE
กิจกรรมกลุ่มควบคุมคุณภาพซึ่งพนักงานทุกคนต้องเข้าร่วมถือว่าเป็นแกนกลางของ TQM และเป็นบทบาทหลักในการทำให้สถานที่ทำงานมีชีวิตชีวา ปัจจัยที่จะทำให้กิจกรรมกลุ่มควบคุมคุณภาพประสบความสำเร็จ ประกอบด้วยการจัดตั้งระบบสำหรับส่วเสริมกิจกรรม เลือกกลุ่มคนขึ้นมารับผิดชอบในการส่งเสริมและเป็นผู้นำ ตั้งกองเลขานุการ กำหนดบทบาทของกองเลขานุการ มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะพัฒนากิจกรรมให้เกิดขึ้นทั่วทั้งองค์กร วิธีหนึ่งโดยการขอให้ผู้บริหารระดับกลางเข้ามามีส่วนร่วม และจัดให้มีการประชุมแลกเปลี่ยนกับกลุ่มอื่น ๆ อีกด้านหนึ่งต้องมีการพัฒนาพนักงานให้สามารถปรับปรุงตนเองอย่างสมัครใจ ด้วยการกระตุ้นและสร้างแรงจูงใจผ่านการประเมินผล และประกาศผลสำหรับกลุ่มที่ประสบความสำเร็จในกิจกรรม

คู่มือเล่มที่ 8 การแก้ปัญหา PROBLEM SOLVING
ทุกกิจกรรมในบริษัทประกอบด้วยวงจรสำหรับแก้ปัญหาหลายวงจร พื้นฐานในการนำไปสู่วิธีการแก้ปัญหาคือการเข้าใจปัญหาอย่างถูกต้องแม่นยำ และรายงานปัญหาทันที ในกรณีทีที่เกิดสภาวะผิดปกติ ผลิตภัณฑ์บกพร่อง หรือได้รับข้อร้องเรียนจากลูกค้า มีความต้องการอย่างเร่งด่วนในการใช้มาตรการฉุกเฉินเพื่อขจัดอาการเหล่านั้น ป้องกันไม่ให้สภาวะผิดปกติลุกลามออกไป สกัดสิ่งบกพร่องไม่ให้หลุดไปยังกระบวนการถัดไป และแก้ไขการสูญเสียความน่าเชื่อถือ มีความสำคัญอย่างยิ่งที่ต้องหลีกเลี่ยงสาเหตุที่ก่อให้เกิดปัญหาเดิมด้วยการดำเนินการมาตรการป้องกันอย่างปราศจากข้อผิดพลาด ควบคู่ไปด้วยกัน ผู้บริหารสูงสุด ผู้จัดการต้องเป็นผู้นำโดยเป็นแบบอย่างในการสืบค้นหาสาเหตุที่แท้จริง ขุดค้นหาปัญหาซ่อนเร้น และแก้ปัญหาด้วยวิธีการทางสถิติ หรือการควบคุมคุณภาพ

คู่มือเล่มที่ 9 กลวิธีทางสถิติ STATISTICAL METHOD
มีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องมีความเข้าใจพื้นฐานวิธีการทางสถิติเป็นอย่างดีเพื่อส่งเสริม TQM และทำให้มีการนำมันไปใช้ โดยพื้นฐานวิธีการทางสถิติประกอบด้วยการเข้าใจข้อมูลเมื่อเทียบกับมาตรฐานได้อย่างชัดเจน และจัดการกับข้อมูลโดยสถิติ นอกจากนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งในการเลือก และวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาความแปรปรวนเพื่อเผยถึงสาเหตุและผลลัพธ์ การนำเครื่องมือ QC 7 อย่างทั้งเก่าและใหม่มาใช้ การจัดทำแผนภูมิควบคุม (control chart) สำหรับแต่ละกระบวนการและแต่ละประเภทผลิตภัณฑ์ขึ้นใช้ จัดให้มีการฝึกอบรมวิธีการทางสถิติอาจโดยสถาบันภายนอกหรือภายในเพื่อให้พนักงานทุกคนคุ้นเคยและสามารถนำวิธีการทางสถิติไปใช้ได้เป็นอย่างดี

คู่มือเล่มที่ 10 การควบคุมความปลอดภัย SAFETY CONTROL
ความปลอดภัยจากการประกอบอาชีพเป็นประเด็นที่สำคัญอย่างยิ่งในการนำ TQM มาปฏิบัติในองค์กร จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องออกแบบและแนะนำเครื่องมือและมาตรการบางอย่างขึ้นมาเพื่อป้องกัน และหลีกเลี่ยงความเสี่ยง ตัวอย่างมาตรการควบคุมความปลอดภัย เช่น การชี้บ่งบริเวณสำหรับอพยพ บริเวณอันตราย และบันทึกอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในระหว่างทำงาน และในสถานที่ทำงาน ใช้เครื่องแบบที่ปลอดภัยและเครื่องป้องกันรวมถึงการติดตั้งอุปกรณ์ด้านความปลอดภัยที่เครื่องจักร สิ่งอำนวยความสะดวก และเครื่องมือ นอกจากนั้น ต้องจัดทำกฎระเบียบด้านความปลอดภัย มีการตรวจ ให้การศึกษา และปลูกฝังฝึกอบรมเพื่อสืบค้นอันตราย และดำเนินการตรวจสอบเป็นระยะเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ

คู่มือเล่มที่ 11 การควบคุมกระบวนการ PROCESS CONTROL
สิ่งที่สำคัญที่สุดในกิจกรรมด้านการผลิตคือให้การศึกษาและฝึกอบรมแก่คนงาน ซึ่งสามารถส่งผลอย่างมากต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์ และสร้างแรงจูงใจแก่คนงานให้ให้ปฏิบัติงานตามมาตรฐาน อีกทั้งการจัดทำมาตรฐานวิธีปฏิบัติเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งที่จะทำให้คนงานสามารถปฏิบัติงานได้อย่างไม่มีข้อผิดพลาด แผนควบคุมกระบวนการมีความจำเป็นอย่างมากสำหรับใช้ควบคุมปัจจัยต่าง ๆอย่างเพียงพอ ซึ่งประกอบด้วยคนงาน วัสดุ สิ่งอำนวยความสะดวก ตัวจับยึด เครื่องมือ และวิธีปฏิบัติ ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับการรักษาคุณภาพและการปรับปรุงประสิทธิภาพ นอกจากนี้ แผนการควบคุมกระบวนการยังเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับการทำให้การเพิ่มผลผลิตเป็นไปอย่างมั่นคง

คู่มือเล่มที่ 12 การจัดการกับสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือ MANAGEMENT OF FACILITIESAND EQUIPMENT
ในการที่จะคงรักษาและปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ มีความจำเป็นที่จะต้องมอบหมายพนักงานให้รับผิดชอบในแต่ละพื้นที่ทำงาน และแต่ละกระบวนการ และทำให้พวกเขาปฏิบัติให้เป็นไปตามมาตรฐาน การจัดการกับสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือมีความจำเป็นในการควบคุมสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือ และการคงรักษาไว้ซึ่งสภาวะที่เหมาะสม นอกจากนี้การจัดการกับสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือยังเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับการทำให้การเพิ่มผลผลิตเป็นไปอย่างมั่นคง

คู่มือเล่มที่ 13 การควบคุมการวัด MEASUREMENT CONTROL
ในการที่จะคงรักษาและปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ การควบคุมเครื่องมือวัดมีความสำคัญอย่างยิ่ง การควบคุมการวัดประกอบไปด้วย การกำหนดเวลาในการนำเข้าและขึ้นทะเบียนเครื่องมือวัด จัดเตรียมมาตรฐานวิธีการใช้เครื่องมือวัดแต่ละชนิด การคงรักษาไว้ซึ่งความแม่นยำ เกณฑ์กำหนดสำหรับการสอบกลับและวิธีสอบเทียบ และสอบเทียบตามที่กำหนดไว้ในมาตรฐาน อีกทั้งมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้การศึกษาและฝึกอบรมการวัดที่ถูกต้องเที่ยงตรงแก่บุคลากรที่รับผิดชอบการวัดในบริษัท หรือบริษัทในเครือ รวมถึงพนักงานที่รับผิดชอบในแต่ละกระบวนการตั้งแต่การวิจัยพัฒนาจนถึงกระบวนการขั้นสุดท้ายและการให้บริการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลิตภัณฑ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงเร็วบริษัทควรพัฒนาการวัดผลิตภัณฑ์ใหม่ด้วยตนเอง

คู่มือเล่มที่ 14 การตรวจสอบ INSPECTION
ภาระหน้าที่ที่สำคัญอย่างยิ่งของบริษัทคือนำผลิตภัณฑ์ที่สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าเข้าสู่ตลาด พนักงานทุกคนควรผนึกความพยายามในการแสดงความรับผิดชอบต่อการนำผลิตภัณฑ์เข้าสู่ตลาด ในการนี้ ฝ่ายประกันคุณภาพควรมีบทบาทนำในการรวบรวมและวิเคราะห์สารสนเทศด้านการตลาด จัดการกับข้อร้องเรียนของลูกค้าทันที จัดทำระบบสำหรับป้องกันปัญหาไม่ให้เกิดซ้ำ และระบบสำหรับดำเนินการกับผลิตภัณฑ์บกพร่อง ฝ่ายนี้มีหน้าที่อธิบายหลักการในการตรวจและทดสอบ ควบคุมบันทึกการตรวจสอบ ดูแลความเป็นไปตามเกณฑ์กำหนดอย่างทั่วถึง ให้การศึกษาและฝึกอบรม จัดการกับผลิตภัณฑ์บกพร่องและบันทึก การตรวจและทดสอบผลิตภัณฑ์ใหม่หรือผลิตภัณฑ์ที่แก้ไขมีความสำคัญมาก เพราะผลิตภัณฑ์เหล่านี้มีโอกาสมากที่จะมีปัญหา จึงต้องมีการตรวจสอบอย่างทั่วถึง ฝ่ายนี้ยังรับผิดชอบต่อการดำเนินการกับข้อมูลเกี่ยวกับข้อบกพร่องและข้อผิดพลาดจากตลาดและข้อร้องเรียนจากลูกค้าอย่างรวดเร็วและแม่นยำ วิเคราะห์หาสาเหตุและป้อนกลับไปยังผู้เกี่ยวข้องเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำ

คู่มือเล่มที่ 15 การให้การศึกษาและฝึกอบรม EDUCATION AND TRAINING
กลยุทธ์ที่สำคัญยิ่งประการหนึ่งคือการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ในแง่ของ TQM ให้ความสำคัญกับการทำให้พนักงานและผู้จัดการเป็นผู้มีความสามารถโดยให้การศึกษาและฝึกอบรม สำหรับการเริ่มต้น ให้จัดทำนโยบายในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ร่างรายละเอียดหลักสูตรสำหรับให้การศึกษาและฝึกอบรม เลือกเนื้อหาและวิธีการให้การศึกษาและฝึกอบรม ต่อจากนั้นจัดตั้งสำนักงานส่งเสริม จัดทำระบบและองค์กรสำหรับส่งเสริม มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการใช้ระบบสร้างแรงจูงใจเพื่อกระตุ้นให้พนักงานทุ่มเทให้กับงานมากขึ้น ขณะเดียวกันให้โอกาศที่เท่าเทียมกันสำหรับพนักงานในการได้รับการศึกษาและฝึกอบรมทั้งจากสถาบันภายนอกและภายใน และจัดให้มีระบบรับรองคุณวุฒิ (ประกาศนียบัตร)

คู่มือเล่มที่ 16 การจัดซื้อ-ผู้ส่งมอบจากภายนอก EXTERNAL SUPPLIER-PERCHASING
ในกิจกรรมการผลิตโดยทั่วไปบริษัทมักจะประสานงานกับบริษัทอื่นโดยการสั่งซื้อวัสดุหรือชิ้นส่วน และให้บริษัทในเครือหรือบริษัทอื่นทำกิจกรรมการผลิตบางส่วนให้ ดังนั้นในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับ TQM ต้องนับรวมเอาบริษัทในเครือและบริษัทภายนอกเข้ามาด้วย ก่อนอื่น กำหนดมาตรฐานในการเลือกผู้ส่งมอบและบริษัทผู้รับงาน ประเมินขีดความสามารถของแต่ละบริษัท รวมถึงการเลือกคู่ค้าใหม่หรือคู่ค้าปกติ เริ่มธุรกิจเมื่อบริษัทภายนอกมีคุณสมบัติเป็นไปตามระบบที่วางไว้ ต่อจากนั้นให้การสนับสนุนให้เกิดความเข้าใจตรงกันกับบริษัทคู่สัญญา

คู่มือเล่มที่ 17 การควบคุมการผลิต PRODUCTION CONTROL
หลังจากจัดทำแผนการผลิตประจำปี แผนการผลิตประจำเดือน ประจำสัปดาห์ และประจำวันจัดทำขึ้นโดยมีแผนประจำปีเป็นหลัก การผลิตซึ่งมีการตัดสินที่หน้างานมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อกิจกรรมการผลิตประจำเดือนหรือประจำวัน การวางแผนสินค้าคงคลังและแผนการจัดส่งที่สอดคล้องกับแผนการผลิตและดำเนินเกี่ยวกับสภาวะผิดปกติมีความสำคัญเช่นกัน นอกจากนี้ต้องให้ความสนใจกับการบริหารงานประจำวันเกี่ยวกับสิ่งอำนวยความสะดวกและอุปกรณ์ที่ไม่ทำตามหน้าที่ ซึ่งทำให้การผลิสดุด การเปลี่ยนแปลงคนงาน และการจัดหาชิ้นส่วนและวัตถุดิบ เพื่อให้กิจกรรมการผลิตเป็นไปด้วยความราบรื่น บริษัทควรสนับสนุนให้มีการบริหารโดยใช้มาตรฐานเป็นหลัก

คู่มือเล่มที่ 18 สะสางและสะดวก DISPOSAL AND PROPER ARRANGEMENT
พนักงานทุกคนต้องทำให้สถานที่ทำงานเป็นระเบียบและสะอาดเรียบร้อย ซึ่งเป็นกิจกรรมพื้นฐานขององค์กร ผลที่สุดก่อให้เกิดบรรยากาศในการทำงานพื้นฐานโดยปราศจากข้อผิดพลาด งานพื้นฐานประกอบด้วยการแยกและขจัดผลิตภัณฑ์ที่ไม่จำเป็น แยกผลิตภัณฑ์บกพร่องออกจากผลิตภัณฑ์ที่ดี ขจัดสิ่งของที่ไม่จำเป็น ตลอดจนการควบคุมการนำสิ่งของเข้าหรือออก กำหนดจำนวนที่จัดเก็บ ควบคุมการจัดเก็บตามมาตรฐาน จัดทำเส้นทางเดิน พื้นที่สำหรับจัดเก็บ พื้นที่จัดวางเครื่องจักรในสถานที่ทำงาน ในการดำเนินงานให้เป็นไปตามนี้ ก่อนอื่น ต้องจัดทำเอกสารเกี่ยวกับการขจัดสิ่งของที่ไม่จำเป็น และการจัดวางให้เป็นระเบียบ ระบุผู้รับผิดชอบ จัดทำระบบในการจัดการกับสภาวะผิดปกติทันที และผลักดันให้มีการออกแบบที่สามารถรู้สถานการณ์ได้ทันทีแค่การชำเลืองมอง มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้การศึกษาและฝึกอบรมแก่พนักงานทุกคนเพื่อดำเนินงานพื้นฐานนี้อย่างไม่มีข้อยกเว้นและทำจนเป็นนิสสัย ผู้ที่ไม่สามารถทำตาม และไม่เคารพกฎพื้นฐานนี้ย่อมไม่สามรถที่จะทำงานที่ซับซ้อนได้

คู่มือเล่มที่ 19 การทำความสะอาด ความสะอาด สิ่งแวดล้อม CLEANING, CLEANLINESS, ENVIRONMENT
รักษาความสะอาดอย่างดี สถานที่ทำงานที่มีการทำกิจกรรม 5 ส. ด้วยเจตคติที่เป็นบวก สถานที่ทำงานที่ผลิตภัณฑ์ เครื่องอำนวยความสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการทำงานถูกจัดเก็บให้อยู่ในสภาพที่ดี พนักงานทุกคนต้องตระหนักถึงความสำคัญของสิ่งเหล่านี้ในขณะที่ทำงาน การปฏิบัติตามมาตรฐานเกี่ยวกับของเสียจากอุตสาหกรรมเป็นหน้าที่ขั้นต่ำของบริษัท พนักงานทุกคนต้องให้ความใส่ใจและพยายามดำเนินการกับของเสียที่เกิดจากกระบวนการผลิตทันทีและเหมาะสม นอกจากนี้เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ถูกสุขลักษณะ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต้องปรับปรุงสิ่งแวดล้อมการทำงานในจุดต่าง ๆ เช่น แสง ความชื้น เสียง กลิ่น และจัดทำเป็นมาตรฐานและปฏิบัติตามอย่างเข้มงวดเพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมการทำงานที่ดี

คู่มือเล่มที่ 20 การพัฒนาเทคโนโลยี และการบริหารการออกแบบ TECHNOLOGY DEVELOPMENT AND DESIGN MANAGEMENT
การพัฒนาเทคโนโลยีใหม่และการเสริมสร้างความเข้มแข็งของการบริหารการออกแบบเป็นเรื่องที่สำคัญมากที่ CEO จะต้องมีความเข้าใจอย่างเต็มที่ เป็นเรื่องใหญ่มากสำหรับ บริษัทในการจัดองค์กรของระบบพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ โดยมอบหมายความรับผิดชอบและอำนาจเต็ม แก่บุคลากรด้านการออกแบบรวมถึงให้สิ่งจูงใจสูงสุด และจัดให้มีสภาพเงื่อนไขที่ดีเพื่อให้ให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยความราบรื่น เพื่อที่จะจับความพึงพอใจของลูกค้าได้อย่างถูกต้อง และนำผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ทำให้ลูกค้าพึงพอใจออกสู่ตลาดได้ทันเวลา การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เขื่อถือได้สูงอย่างมีประสิทธิผลควรทำโดยการระบบพัฒนา การเตรียมโครงการที่เหมาะสม จัดทำเกณฑ์การออกแบบและชิ้นส่วนมาตรฐานสำหรับใช้งานทั่วไป และดำเนินการทบทวนการออกแบบอย่างเป็นระบบ

คู่มือเล่มที่ 21 การบริการหลังการขาย AFTER-SALE SERVICE
การบริการหลังการขายเป็นกิจกรรมหลักอย่างหนึ่งของการประกันคุณภาพทั้งก่อนและหลังการวางผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาด มันเป็นอีกด้านหนึ่งของการทำข้อตกลงเพื่อทำให้องค์กรเติบโตและขยายยอดขายซึ่งจะต้องตระหนักถึงความสำคัญเป็นอย่างดี CEO ควรมีความเข้าใจถึงความสำคัญของการบริการหลังการขายด้วยตนเอง และพยายามเสริมสร้างความเข้มแข็งของกิจกรรมหลังการขายของผลิตภัณฑ์ที่ได้ส่งมอบ เพื่อให้บรรลุถึงความเข้มแข็งดังกล่าว ารทบทวนเนื้อหามีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับระบบการจัดองค์กร การนำบุคลากรที่มีความสามารถทางเทคนิคสูง เพื่อทำให้การรับประกันและระบบประกันคุณภาพสมบูรณ์ และการเตรียมเอกสารสำหรับบริการ เช่น คู่มือบริการ บัญชีรายการให้บริการ และสารสนเทศของการให้บริการ เป็นต้น เป็นเป้าหมายพื้นฐานของฝ่ายบริหาร ที่จะต้องบรรลุถึงความพึงพอใจสูงสุดของลูกค้า โดยการประเมินความสามารถเชื่อถือได้ของการบริการหลังการขายในแง่ของการแข่งขัน